เมนู

3. อาสวโคจฉกวิสัชนา


สิกขาบท 5 เป็นโนอาสวะ สิกขาบท 5 เป็นสาสวะ สิกขาบท 5
เป็นอาสววิปปยุต สิกขาบท 5 กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็น
สาสวโนอาสวะ สิกขาบท 5 กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้
เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ แต่เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ.

4, 5, 6, 7, 8, 9, 10. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา


สิกขาบท 5 เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สิกขาบท 5 เป็นโนคันถะ
ฯลฯ สิกขาบท 5 เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สิกขาบท 5 เป็นโนโยคะ ฯลฯ
สิกขาบท 5 เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สิกขาบท 5 เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ
สิกขาบท 5 เป็นสารัมมณะ สิกขาบท 5 เป็นโนจิตตะ สิกขาบท 5 เป็น
เจตสิกะ สิกขาบท 5 เป็นจิตตสัมปยุต สิกขาบท 5 เป็นจิตตสังสัฏฐะ
สิกขาบท 5 เป็นจิตตสมุฏฐานะ สิกขาบท 5 เป็นจิตตสหภู สิกขาบท 5 เป็น
จิตตานุปริวัตติ สิกขาบท 5 เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ สิกขาบท 5 เป็น
จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู สิกขาบท 5 เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ
สิกขาบท 5 เป็นพาหิระ สิกขาบท 5 เป็นโนอุปาทา สิกขาบท 5 เป็นอนุปา-
ทินนะ.

11, 12, 13. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา


สิกขาบท 5 เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ สิกขาบท 5 เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
สิกขาบท 5 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ สิกขาบท 5 เป็นนภาวนายปหาตัพพะ
สิกขาบท 5 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ สิกขาบท 5 เป็นนภาวนายปหาตัพ-
พเหตุกะ สิกขาบท 5 เป็นสวิตักกะ เป็นสวิจาระ สิกขาบท 5 เป็นสัปปีติกะ

ก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี สิกขาบท 5 เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี
สิกขาบท 5 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สิกขาบท 5 เป็นอุเปก-
ขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สิกขาบท 5 เป็นกามาวจร สิกขาบท
5 เป็นนรูปาวจร สิกขาบท 5 เป็นนอรูปาวจร สิกขาบท 5 เป็นปริยาปันนะ
สิกขาบท 5 เป็นอนิยยานิกะ สิกขาบท 5 เป็นอนิยตะ สิกขาบท 5 เป็น
สอุตตระ สิกขาบท 5 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาสิกขาปทวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยสิกขาบทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก อัปป-
มัญญาวิภังค์
นั้นต่อไป.
คำว่า 5 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า สิกฺขาปทานิ (แปลว่า สิกขาบททั้งหลาย) ได้แก่ บทที่
กุลบุตรพึงศึกษา. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสิกขา (สิกขา
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา). อนึ่ง กุสลธรรมแม้ทั้งหมดอันมาแล้วในเบื้องบน
ชื่อว่า สิกขา เพราะเป็นธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา. ก็บรรดาองค์แห่งศีล 5
องค์ใดองค์หนึ่ง ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยของสิกขาเหล่านั้น
ฉะนั้น องค์แห่งศีลเหล่านั้น จึงชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่ง
สิกขา.